วันที่ 25 กันยายน 2562 กลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ร่วมกับสถาบันพลาสติก ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาล เพื่อการแปรรูปเป็นพลาสติกชีวภาพ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญด้วยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบันเกิดปัญหาขยะพลาสติกสะสมมากมาย โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แก้วน้ำพลาสติก หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก
.
.
ในกิจกรรมนี้ได้มอบหลอดพลาสติกชีวภาพซึ่งสถาบันพลาสติกได้จัดหาเม็ดพลาสติกชีวภาพให้บริษัทฯ แปรรูป มอบให้ในกิจกรรมนี้ เพื่อให้เกิดการทดลองใช้จริง ในโอกาสนี้บริษัท ไทย เอ็น.เค.พลาสติก จำกัด ได้มอบหมายให้นายพีระพล วงศ์บุญนาค เจ้าหน้าที่วิเคราะห์การผลิต เป็นตัวแทนบริษัทฯ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่ร้านกาแฟ Gallery Drip Coffee ที่ชั้น 1 หอศิลป์กรุงเทพฯ ปทุมวัน นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนการใช้พลาสติกชีวภาพอย่างแท้จริงในประเทศ สอดคล้องการตอบโจทย์เพื่อผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคอุตลาหกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท ?
ภาษีความหวาน คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ตามกฏหมาย พ.ร.บ.สรรพสามิต อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระยะเวลาแก่ภาคเอกชนปรับตัว ได้วางกรอบระยะเวลาไให้ภายใน 2 ปีแรก หลังจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ให้สินค้าที่เข้าข่ายมีน้ำตาลเกินที่กำหนดยังไม่ต้องเสียภาษี
.
.
ตั้งแต่ 1 ตค. 2562 - 30 กย. 2564 เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตรเก็บภาษีที่ 0.30 บาทต่อลิตร
.
เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร (จากเดิมเสียภาษี 0.50 บาทต่อลิตร)
.
เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 กรัม แต่ไม่เกิน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร (จากเดิมเสียภาษี 1 บาทต่อลิตร)
.
เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 18 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร และจะมีการปรับภาษีแบบขั้นบันไดแบบเท่าตัวอีกครั้งในช่วง 1 ตค. 2564 - 30 กย. 2556 และ 1 ตค. 2556 เป็นต้นไป